ลักษณะวิสัย แบ่งเป็นไม้ล้มลุก (herb) ซึ่งอาจเป็นมีอายุปีเดียว (annual plant) สองปี (biennial plant) หรือพืชหลายปี (perennial plant) ก็ได้ ส่วนพืชที่มีเนื้อไม้ (woody plant) ที่ลำต้นมีกลุ่มเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรง อายุการเจริญเติบโตมีช่วงยาวกว่าไม้ล้มลุก เช่นไม้พุ่ม (shrub) ไม้ต้น (tree) ส่วนไม้เถาหรือไม้เลื้อย (climber) มีทั้งแบบล้มลุก และมีเนื้อไม้
ไม้เถาหรือไม้เลื้อย (Climber)
พืชที่มีส่วนของลำต้น หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปพันกับหลักหรือต้นไม้อื่นๆ ไม้เลื้อยไม่มีเนื้อไม้ (herbaceous climber) มีกลุ่มเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้นน้อย เช่น แตงกวา แตงโม ตำลึง ไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ (woody climber) มีกลุ่มเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้น เช่น สะบ้าลิง มะเมื่อย
ไม้ล้มลุก (Herb)
พืชที่มีขนาดเล็ก ลำต้นอ่อนมีเนื้อเยื่อที่ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้นน้อย อายุการเจริญเติบโตสั้น ลำต้นอ่อนนุ่มไม้ล้มลุมกจะตายเมื่อหมดฤดูของการเจริญเติบโต ได้แก่ พืชอายุหนึ่งปีเช่น ดาวกระจาย ดาวเรือง บานชื่น พืชอายุสองปีเช่น ผักกาด และพืชอายุหลายปีเช่น แพงพวยฝรั่ง พุทธรักษา
ไม้พุ่ม (Shrub)
พืชที่มีการแตกกิ่งก้านสาขาตั้งแต่โคนต้น ลำต้นมีเนื้อไม้แข็ง ทำให้มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม โดยพุ่มไม้นี้มีขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง เช่น โกสน ชบา ชาปัตตาเวีย
ไม้ต้น (Tree)
พืชที่มีลำต้นเดี่ยว ป็นเนื้อไม้แข็ง และมีการแตกกิ่งก้านสาขาด้านบนของลำต้น ซึ่งมีขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เช่น มะม่วง หูกวาง ประดู่บ้าน มะยม ชมพู่
เรือนยอด (tree crowns) ลักษณะทรงพุ่มของไม้ต้น ที่ลักษณะการแตกกิ่งก้านสาขาบนลำต้นเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น
เรือนยอดกลม (rounded) เช่น เรือนยอดต้นมะม่วง มะขาม
เรือนยอดรูปทรงกระบอก (columnar, cylindric) เช่น เรือนยอดต้นแคนา
เรือนยอดคล้ายร่ม (umbellate) เช่น เรือนยอดต้นจามจุรี
เรือนยอดรูปกรวย (conical) เช่น เรือนยอดอโศกอินเดีย
เรือนยอดคล้ายฉัตร (verticillate) เช่น เรือนยอดต้นสัตตบรรณ สนฉัตร หูกวาง
เรือนยอดมีกิ่งห้อยย้อยลงมา(weeping) เช่น
เรือนยอดแปลงล้างขวด หลิว ยูคาลิปตัส
เรือนยอดแตกไม่เป็นระเบียบ (irregular) เช่น เรือนยอดสนทะเล
แหล่งข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น